ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 987982 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 14 ศาสตร์ของการบริหารงาน (2)( Diagram of Maslow’s and McGregor’s Theory )“ Strategic Management”

ตอนที่ 46

วันที่ 14

ศาสตร์ของการบริหารงาน (Science of Management) (2)

(Diagram of Maslow’s and McGregor’s Theory )

“ Strategic Management”    

1. ปัญหาท้ายตอนที่ 45 :                                                                                                                            

           จากหลักการของ ทฤษฎีจูงใจของมาสโลว์  และทฤษฎีการจูงใจของแมคเกรเกอร์ เน้นการพิจารณาคนในแง่ที่ต่างกัน กล่าวคือ มาสโลว์…ให้ความสำคัญแก่ความต้องการของมนุษย์ ขั้นพื้นฐาน ตามธรรมชาติในความจำเป็นของปัจจัยสี่….เลียงลำดับของความต้องการ…ทางรางกาย…จิตใจ….ความปลอดภัยและการมีชีวิตที่ผาสุก….มีสังคมที่ตนพอใจและได้รับการยอมรับ….การมีเกรียติยศชื่อเสียง  และสุดท้าย คือได้รับ          ความสำเร็จของการครองชีวิต ของตนเองทั้งการงาน และครอบครัว ……. มาสโลว์ใช้ปัจจัยทั้ง 5 นี้เป็นตัวกำหนดหลักการ….เพื่อใช้บริหารบุคคลในองค์การ….ผู้บริหารจะทำความเข้าใจโดย แบ่งระดับของพนักงาน ในองค์การได้อย่างชัดเจน ว่าพนักงานแต่ละระดับมีความต้องการสูงสุดอยู่ ณ จุดใด……ขีดจำกัดของทฤษฎีนี้คือ…..ทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอน….ซึ่งเมื่อมีบางอย่างของระบบที่ผิดปกติ อันเนื่องมาจากผลงาน / การกระทำ…ของมนุษย์ในระบบแล้ว ก็อาจหาเหตุผล / คำอธิบาย ยากพอสมควร สำหรับ               ผู้บริหาร…..ในขณะที่ แมคเกรเกอร์…จะแบ่งพฤติกรรมตามธรรมชาติของมนุษย์ เป็น 2 ขั้วความคิด…..ตามทฤษฏี “ X ” ซึ่งพยายาม มอง / คิด ว่ามนุษย์ มีความไม่ พอดี / ไม่สมดุลทางความคิดนี้สูงมาก…ทุกอย่างที่เป็นการกระทำ / การแสดงออก ของมนุษย์ จะเป็น …. “ ลบ ” ทั้งหมด……ในขณะที่ ทฤษฏี “ Y ”  ก็จะมองการกระทำ / พฤติกรรม ของมนุษย์ ที่แสดงออกมาในแง่…. “ บวก” ทั้งหมด…..ตัวอย่างของการใช้…ทฤษฎีจูงใจของมาสโลว์ และทฤษฎีการจูงใจของแมคเกรเกอร์ มีดังนี้:-                                                                

           กรณีที่ ผู้บริหารระดับสูง…ต้องการเลื่อนตำแหน่งคุณปรีดาจากหัวหน้าฝ่าย….ให้เป็นผู้จัดการฝ่าย…. “ คุณปรีดา..ผมจะแต่งตั้งให้คุณเป็น…ผู้จัดการฝ่ายโรงงาน….คุณจะว่าอย่างไร? ”....... “ ผมขอ             ขอบคุณในความหวังดี และความกรุณาของท่านมากครับ ! ”……  “ แต่ผมรับไว้ไม่ได้ครับ ….. “ อ้าว ทำไมล่ะ…เป็นเพราะเหตุอะไร ….. “ ผมคงไม่มีเวลาพอที่จะรับผิดชอบตำแหน่งสำคัญนี้ได้…หน้าที่นี้ต้องทุมเทครับ!...เออ…..และช่วงนี้ผมต้องให้เวลากับครอบครัวมากขึ้นครับ! เพราะภรรยาของผมได้รับลูกซึ่งฝากคุณยายเลี้ยงไว้กลับมาอยู่ที่บ้านของเราครับ....” .....“ แต่ผมว่าคุณสามารรับตำแหน่งนี้ได้แน่นอน!....ให้คุณกลับไปคิดดูก่อนนะ! ” ……..ในฐานะที่ท่านอยู่ในระดับบริหาร….ท่านมีความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีที่ผู้บริหารระดับสูง จะแต่งตั้งให้ คุณปรีดา รับตำแหน่งใหม่ในครั้งนี้ เป็นอย่างไร? …..เราพอสรุปเป็นข้อๆได้ดังนี้ :-                                                                                                                                                             

1.  ตามที่คุณปรีดา กล่าวกับผู้บริหารเช่นนั้นเป็นเพราะ…..มีระดับความต้องการ…ตามทฤษฎีของ มาสโลว์ อยู่ในระดับเพียงพอแล้ว….จริงหรือ !......ถ้าคิดในแง่ ทฤษฏี “ X ” ของแมคเกรเกอร์ ….น่าจะใช่ตามที่คุณปรีดาพูด….แต่ถ้าคิดในแง่  ทฤษฏี “ Y ” ….น่าจะมีเหตุผลอื่นนอกเหนือจาก….การที่บอกว่าไม่มีเวลาเท่านั้น….ใช่หรือไม่….?                                                                                                                                        2.  ผู้บริหาร เมื่อมีความต้องการที่จะแต่งตั้งให้คุณปรีดา …..มารับตำแหน่งใหม่….ตามทฤษฏีของ มาสโลว์ …เราพร้อมที่จะให้การสนับสนุน คุณปรีดา…เพื่อให้มารับตำแหน่งใหม่นี้…อย่างไรบ้าง…ท่านต้องคิดให้ออก !  ….โดยใช้ ทฤษฏี “ Y ” ของแมคเกรเกอร์….ทำให้ผู้บริหารทั้งหมดเข้าใจว่า….การที่จะแต่งตั้งคุณปรีดา มาเป็นผู้จัดการฝ่ายโรงงาน นั้นเป็นเพราะ…..คุณปรีดามีความพร้อมและเต็มใจรับตำแหน่งนี้ !....แล้ว และผู้บริหารทุกคนก็เต็มใจด้วย                                                                                                                          

3.  เมื่อคุณปรีดา….รับตำแหน่งใหม่นี้แล้ว ด้วยการสรุปทั้งในข้อที่ 1 และ 2 นั้น…..มาสโลว์….พยายามแบ่งความต้องการของมนุษย์….ไว้ตรงตามธรรมชาติเป็นลำดับชั้น…..เมื่อเรารู้ความต้องการตามธรรมชาติของคุณ…ปรีดาแล้ว….เราพยายามหาตัวช่วยให้เขาสามารถทำงานในตำแหน่งนี้ได้….แล้วเราก็พยายามใช้ ทฤษฏี “ Y ” ของแมคเกรเกอร์…ให้การสนับสนุนความคิดนี้….แต่ก็ต้องหา fast track…..ให้ทั้ง 2 ฝ่าย ! เพื่อเป็นทางออกที่ดี ให้กับการตัดสินใจ /  การดำเนินการในครั้งนี้....ไว้ด้วย!                                                                          

2. ตัวอย่างการใช้แผนผังของ  Maslow’s  and  McGregor’s Theory :                                                             

2.1   การใช้แผนผัง…นั้นเมื่อพิจารณาตามหลักของมาสโลว์ในขั้นใด….ให้ใช้หลักตาม…ทฤษฏี “ X & Y ” ของแมคเกรเกอร์ ควบคู่กันไป….เราจะได้คำตอบที่….น่าที่จะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์นั้นๆ       

2.2    ในการใช้แผนผังนี้…กับระดับ พนักงาน / บุคคล / ในองค์การ….ควรจะต้องระวังในการใช้กับ              พนักงานระดับบริหาร… เพราะต้องไม่ใช้…ทฤษฏี “ X & Y ” …..เข้าข้างตัวเอง                                              

2.3    เหตุผลใดๆก็ตาม…ที่ได้จากทั้ง ทฤษฏีมาสโลว์ และทฤษฏี  “ X & Y ” ของแมคเกรเกอร์….ถ้าไม่ตรงกับจุดประสงค์หลักของ ผู้บริหาร….ก็ต้องยอมรับ และเคารพในสิทธิของพนักงาน / บุคลากร นั้นๆ  แล้วองค์การของท่านจะเป็นที่ยอมรับของทุกๆคนในองค์การ                                                                                       


 

90275_Picture23.png



รูปแสดง Diagram of  Maslow’s  and  McGregor’s Theory

 

/////////////////////////////////////////

22/10/2552




 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที