ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 987884 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 16 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management) (BSC & KPI -3)

ตอนที่ 56

วันที่ 16

ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน  (Practical  Management)

(BSC & KPI -3)

1. Procedure  of  Balanced  Scorecard
           เพื่อให้มีการถ่ายทอดกลยุทธ์ (strategy) ลงสู่การปฏิบัติงานของหัวหน้างานทุกระดับชั้น และพนักงานทุกคนเข้าใจในแผนกลยุทธ์หลักขององค์การ กระบวนการจัดทำ BSC ต้องให้สอดคล้องกับ หลักของการจัดการเชิงกลยุทธ์….5 ประการคือ…Direction Setting…..Environment Scanning …Strategy Formulation.…..Strategy Implementation …..Control and Evaluation  ......ในขณะที่ ผู้บริหารระดับสูงต้องเป็นผู้สรุปผลของงานการประเมินทั้งหมด ผ่านทาง…..Strategy Map…โดยมีการประเมินผลของงานทั้งหมดทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ….แล้วแปลงมาเป็นแผนของการทำงาน….พร้อมที่จะมีการปรับปรุงกระบวนการทำงานขององค์การทั้ง ภายใน และผลกระทบจากภายนอก…ให้ดีขึ้น….ครอบคลุมถึง…. Financial Perspective… Customer Perspective….. Internal Process Perspective…. Learning and Growth Perspective….ขั้นตอนของกระบวนการ BSC ส่วนใหญ่รวมอยู่ในกระบวนการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ ซึ่งประกอบด้วย…... การวิเคราะห์ทางกลยุทธ์ ( SWOT Analysis) ….เพื่อกำหนดทิศทางของกลยุทธ์องค์การ(Direction Setting) …..กำหนดวิสัยทัศน์(vision) เพื่อกำหนดกลยุทธ์หลัก (Strategic Themes) ……แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อกำหนด ….BSC and Strategy Map…..Core of Perspectives …. Financial   Perspective….Customer Perspective…..Internal Process Perspective and Learning and Growth  Perspective…..การทำ Strategy Map โดยกลุ่มผู้บริหารระดับสูง ขององค์การ…ต้องทำตามวัตถุประสงค์ที่สำคัญภายใต้มุมมองขององค์การเพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ ของกลยุทธ์หลักขององค์การ…..มีการกำหนดฐานข้อมูล ตัวชี้วัด (KPI) …..แผนกิจกรรม (Initiatives) มีรายละเอียดและขั้นตอนการปฏิบัติอย่างชัดเจน…..โดยแยกเป็นหัวข้อที่สำคัญคือ…..มีการการกำหนดเป้าหมาย …..กำหนดตัวชี้วัด…..และจัดทำแผนงานตามโครงการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกิจกรรม….ผู้บริหารระดับสูงจะต้องแปลงแผนงานและตัวชี้วัดลงสู่ผู้บริหารในระดับถัดลงมา….แต่ต้องไม่ล้วงลึกจนผู้บริหารระดับล่างทำงานอย่างขาดอิสสระภาพทั้งทางความคิดและการปฏิบัติงาน….โดยต้องเปิดโอกาสให้ผู้บริหารทุกระดับมีส่วนร่วมในการบริหารงาน แสดงความคิดเห็น ตามแผนเชิงกลยุทธ์นี้…ตัวอย่างการจัดผังของกระบวนการจัดทำ BSC ดังแสดงในรูปด้านล่างนี้



90275_Picture127.png


รูปแสดง Procedure of BSC

2. Balanced  and Scorecard                                                                                                                              

                2.1 Balanced คือ ต้องให้เกิดความสมดุลในสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้                                                               

                     1. เกิดความสมดุลในมุมมอง 4 ด้านของ BSC (4-Perspectives) ……..Financial Perspective… Customer Perspective….. Internal Process Perspective…. Learning and Growth Perspective….                 

                     2   เน้นให้เกิดความสมดุลทั้ง Financial Perspective… และ Learning and Growth                                Perspective….โดยเน้น… Financial Perspective ….เป็นช่วงๆในระยะสั้นๆตามโอกาสที่องค์การมีอยู่…..แต่ต้องวาง BSC ทางด้าน….Learning and Growth Perspective….ไว้ในระยะยาวเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนและผลกระทบจากภายนอก                                                                                                                                   

                     3.  ให้เกิดความสมดุลของ….Customer perspective….และจากมุมมองภายในขององค์การ  (Internal Process Perspective)……ทำให้องค์การรู้ถึงความต้องการของลูกค้าเพื่อนำมาปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานภายในขององค์การเพื่อตอบสนองแก่ลูกค้าได้ทันท่วงที                                                                                

                        4.  ให้เกิดความสมดุลของรายได้…กับการควบคุมต้นทุน…ซึ่งต้องสร้างความสมดุลของตัวชี้วัดที่เป็นเหตุ (Leading indicators) และตัวชี้วัดที่เป็นผล (Lagging Indicators) ไปพร้อมๆกัน

               2.2   Scorecard คือ ใช้ระบบบัตรให้คะแนน….โดยกำหนดมาจากการฐานข้อมูลที่ปัจจุบัน…และเป็นจริง…เพื่อสนับสนุนให้ตัวชี้วัดต่างๆ ในแต่ละด้านเกิดความชัดเจนเพื่อแสดง…ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ                                                                                                                                                                                

3. จุดแข็งของ Balanced Scorecard (BSC)                                                                                                        

                     1. BSC เน้นถึงวัตถุประสงค์และตัวชี้วัด ขององค์การ ที่แสดงถึงปัจจัย ทั้งภายในองค์การ (Financial Perspective… Learning and Growth Perspective) และปัจจัยภายนอกองค์การ (Customer perspective)                                                                                                                                                      

                     2. BSC แสดงให้เห็นถึงความสมดุลของตัวชี้วัดทางด้านการเงิน และตัวชี้วัดที่ไม่ใช่ด้านการเงิน ทำให้องค์การสามารถพัฒนาไปได้พร้อมๆกันอย่างถูกทาง                                                                              

                     3. BSC สามารถมุ่งเน้นถึงความสมดุลของตัวชี้วัดภายในระยะสั้น (Financial Perspective) และในระยะยาว (Learning and Growth Perspective) โดยแสดงให้เห็นถึงความสมดุลระหว่างตัวชี้วัดที่เป็นต้นเหตุ (Lead Indicators or Drivers) และตัวชี้วัดที่เป็นผล (Lag Indicators or Outcomes) และผลลัพธ์จากตัวชี้วัดที่ได้นี้มาจากสาเหตุที่แท้จริงของการบริหารงานองค์การ                                                                    

บทส่งท้ายตอนที่ 56:  Balanced Scorecard มีจุดเด่นอยู่ 3 ประการคือ                                                             

1. BSC  สามารถใช้ในการควบคุม และเป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับบุคลากรทุกคนให้รู้ถึงรายละเอียดในกลยุทธ์ ขององค์การ …….โดยผู้บริหารเป็นผู้วัดและประเมินผลเพื่อควบคุมแผนงานกลยุทธ์ขององค์การ

2. BSC  ยังก่อให้เกิดการชี้นำ หรือการเปลี่ยนแปลง ในพฤติกรรม / ประเพณี….ของบุคลากร ในองค์การ โดยอาศัยตัวชี้วัด (KPI) เพื่อช่วยในการถ่ายทอดกลยุทธ์ …ระเบียบปฏิบัติ ให้กับบุคากรได้รับรู้ และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง หรือชี้นำพฤติกรรมการทำงาน เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ขององค์การ

3. BSC  จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้านองค์การ…..ซึ่งผู้บริหารทุกระดับขององค์การจะต้องเป็นผู้นำของการเปลี่ยนแปลงนี้……อาจจะมีการสร้างบรรยากาศที่ดีของการเปลี่ยนแปลง…..มีการสื่อสารและทำความเข้าใจกับบุคลากร….ให้ทั่วถึงทุกคน….อย่างชัดเจน….เน้นที่ความมีส่วนร่วมของบุคลากรและการมีแนวความคิด…..และจะต้องเน้นที่….ความจำเป็นที่องค์การจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง และผลประโยชน์ที่จะได้รับขององค์การ…..ซึ่งชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่บุคลากรทุกคนจะได้รับ….โดยการเปลี่ยนแปลงก็ขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์การเป็นสำคัญ….บางกิจการมีการเปลี่ยนทั้งระบบ…แต่บางกิจการก็ต้องค่อยๆเปลี่ยนลงมาเป็นขั้นๆจากผู้บริหารในแต่ละระดับ…ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของปัจจัยภายในองค์การนั้นๆ  

 

/////////////////////////////////////////

3/1/2553






บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที