ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 987933 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 16 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management) (BSC & KPI -4)

ตอนที่ 57

วันที่ 16

ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน  (Practical  Management)

(Kaplan & Norton), (BSC & KPI -4)

2 Gurus of BSC                

1.  Professor Dr. Robert S. Kaplan : เกิดในปี พ.. 2483  จบการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (M.Eng. , Electrical Engineer) จาก MIT (Massachusetts Institute of Technology) และในปี พ.. 2511 จบปริญญาเอกสาขา Operations Research from Cornell  University  in  Ithaca, New York, USA  และในปี .. 2537  เขาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จาก University of Stuttgart ,Germany                                        

ตำแหน่งหน้าที่การงานและรางวัลเกียรติยศของ  Kaplan :                                                                                       
1.  เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย
Carnegie-Mellon in Pittsburgh, Pennsylvania , USA นานถึง 18 ปี ได้รับตำแหน่งสุดท้ายเป็นคณบดีของ The Graduate School of Industrial Administration (GSIA) ในช่วง พ.. 2520 -  .. 2526                                                                                                                                                    
2.  ในปี พ.. 2537   เป็นอาจารย์สอนที่
Harvard Business School   ดำรงตำแหน่ง Marvin Bower Professor ด้านการพัฒนาความเป็นผู้นำ                                                                                                                                      
3.  รางวัลเกียรติยศต่างๆ เช่น
Outstanding Accounting Educator Award จาก American Accounting   Association (AAA) ในปี 2531                                                                                                                                            
4.  รางวัล CIMA จาก the Chartered Institute of Management Accountants (UK) ในปี 2547                            
5.  รางวัล The Institute of Management Accountants Distinguished Service Award ในปี 2544 และถูกจัดเป็น 1 ใน 50 สุดยอดนักคิดนักเขียนด้านการจัดการ โดย The Accenture Institute for Strategic Change ในปี 2545-2546                                                                                                                                                      

6.  ปี พ.ศ. 2545 เมื่อเขาและ David P. Norton ได้ตีพิมพ์บทความ Balanced Scorecard (BSC): Measures That Drive Performance ใน Harvard Business Review เป็นจุดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการธุรกิจทั่วโลก                                                                                                                                                              

 ตัวอย่างผลงานของ  Kaplan :                                                                                                                          

1. “Activity-based Costing (ABC)” ในปี 2531                                                                                                               
2.  “Balanced Scorecard : Translating Strategy into Action” ในปี  . . 2539  ได้รับรางวัล Wildman Medal เมื่อปี พ.. 2544  จาก American Accounting Association                                                                             
3.  “The Strategy Focused Organization” หรือ “องค์กรยอดกลยุทธ์” (HBS Press, 2542) โดยแต่งร่วมกับ David P. Norton                                                                                                                                                          
4.  “Cost and Effect: Using Integrated Cost Systems to Drive Profitability and Performance” (HBS Press, 2541) โดยแต่งร่วมกับ Robin Cooper                                                                                                                          
5.  “Having Trouble With Your Strategy” -Then Map It  ตีพิมพ์ใน Harvard Business Review (กันยายน – ตุลาคม 2543) โดยแต่งร่วมกับ David P. Norton - The Promise                                                                                  
 
6. “ Peril of Integrated Cost Systems” ตีพิมพ์ใน Harvard Business Review และ (กรกฎาคม – สิงหาคม 2541) โดยแต่งร่วมกับ Robin Cooper                                                                                                                                
 
7.  “Implementing Activity-Based Cost Management” : Moving from Analysis to Action, Measures for Manufacturing Excellence, Relevance Lost: The Rise and Fall of Management Accounting                                        
8.  “Management Accounting” หนังสือแบบเรียนเกี่ยวกับการจัดการด้านการบัญชี ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2543 (พิมพ์ครั้งที่ 3 โดย Prentice-Hall),                                                                                                                     
9.  “Advanced Management Accounting” ตีพิมพ์ในปี 2541 และ Design of Cost Management Systems พิมพ์ครั้งแรกปี 2542 (ปัจจุบัน พิมพ์ครั้งที่ 2)                                                                                                                   
10.  “Balancing the Corporate Scorecard” เป็น.  ซีดีรอมตัวใหม่แบบ interactive                                                      
11. “Measuring Corporate Performance”   ในปี 2537 วีดีโอเทปเป็นseriesจำนวน 4 ตอน  ซึ่งนำเสนอ มุมมองและประสบการณ์ของบริษัทต่างๆ ในการใช้ Activity-Based Cost Management และ The Balanced Scorecard                                                                                                                                                           


2.   Dr. David P. Norton :
จบการศึกษา วิศวกรรมไฟฟ้าจาก  Worcester Polytechnic Institute และจบ MS สาขา Operations Research  from  Florida Institute of Technology  และ MBA from Florida State University  และจบปริญญาเอกสาขา  Business Administration from Harvard Business School

ตำแหน่งหน้าที่การงานและรางวัลเกียรติยศของ  Norton :                                                                                  

1.  เป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการของ Palladium, and co-founder of Balanced Scorecard Collaborative, an organization facilitating the global use and effectiveness of the Balanced Scorecard as a value-added management process                                                                                                                                                       
2. เคยดำรงตำแหน่งประธานของ  Renaissance Solutions, Inc., an international consulting firm he co-founded  ในปี 2535                                                                                                                                                         
3. เป็นประธานของ  co-founded Nolan, Norton & Company where he spent 17 years as president, prior to its acquisition by KPMG Peat Marwick.                                                                                                                        
4. ผลงานชุดแรกร่วมกับ Robert S. Kaplan – “The Balanced Scorecard: Translating Strategy Into Action” (Harvard Business School Publishing ในปี 2539 ), “The Strategy-Focused Organization: How Balanced Scorecard Companies Thrive in the New Business Environment” (Harvard Business School Publishing ในปี 2543), and three articles on the Balanced Scorecard in the Harvard Business Review.                             
5. มีผลงานเขียนร่วมกับ Dr. Robert S. Kaplan หลายผลงานที่ออกให้กับ
Harvard Business Review  จนเป็นที่รู้จักกันใน Financial Times                                                                                                                                    
6. ผลงานที่เป็น best selling – “
Alignment: Using the Balanced Scorecard to Create Corporate Synergies” ในปี 2549                                                                                                                                                           

Kaplan และ Norton : ได้ร่วมมือกันวิจัยหารูปแบบการวัดประเมินผลทางธุรกิจแบบใหม่ โดยให้คำนึงถึงและนำปัจจัยที่ไม่ใช่การเงิน (Non financial) เข้ามาพิจารณา  เช่น ความพอใจของลูกค้า ความพอใจของพนักงาน ภายในองค์การ ความพอใจของผู้ส่งของ ( Supplier)  และ อัตราการเข้าออกของพนักงาน ส่วนแบ่งการตลาด  ได้แก่ อัตราการเสียลูกค้าเก่า และอัตราการเพิ่มของลูกค้าใหม่  ……ความสามารถภายในของพนักงาน (Competency Coverage)…..เวลาในการผลิต….เวลาที่ใช้ในการส่งมอบและความผิดพลาด…. สิ่งต่างๆเหล่านี้ มีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาและการบริหารองค์การให้มีความยั่งยืนทางธุรกิจ….. ซึ่งได้มีการกำหนดมุมมอง (Perspective) ออกเป็น 4 มุมมอง คือ มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective) มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective) มุมมองด้านขบวนการภายใน (Internal Business Process) และมุมมองด้านการเรียนรู้และเติบโต (Learning & Growth Perspective)                                                              

บทส่งท้ายตอนที่ 57:สรุปหลักการของ Kaplan และ Norton                                                                                                                                              

Internal Business Process และ Learning & Growth Perspective:                                                                               
ช่วยสร้างความชำนาญ และความพอใจของพนักงาน มีการพัฒนาเทคโนโลยี และระบบการบริหารงานต่างๆ ในมุมมองของการเรียนรู้และการเติบโต จะส่งผลต่อคุณภาพขบวนการและเวลาที่ใช้ในแต่ละขบวนการผลิต ในมุมมองขบวนการภายใน ทำให้องค์การสามารถส่งมอบสินค้าหรือให้บริการที่มีคุณภาพได้ทันเวลาจนทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจและเชื่อมั่นที่จะใช้สินค้าของเราตลอดไป                                                                                     
Financial Perspective  และ Customer Perspective :                                                                                                      
 
มุมมองทางด้านการเงิน  และจากการพอใจของลูกค้า  สามารถสร้างให้เกิด การซื้อสินค้าและการใช้บริการ ซ้ำเป็นประจำ สร้างความ เจริญเติบโตของธุรกิจ เพิ่มยอดขายให้สูงขึ้น สร้างความมั่นคงทั้งภายในและภายนอกองค์การ  มีการพัฒนาในการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายให้ต่ำลงอย่างต่อเนื่อง จากขบวนการภายในที่ดี มีประสิทธิภาพสูง และส่งผลทำให้กำไร และผลตอบแทนให้กับองค์การอย่างยั่งยืน

/////////////////////////////////////////

10/1/2553





บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที