ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 987927 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 18 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management)(2), (Case Study -6)

ตอนที่ 63

วันที่ 18

ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน  (Practical  Management)(2)

(Case Study -6)

 

1.   การตลาดแบบไทยๆคิดอย่างไร……ต้องเพิ่มกำไร……..ให้กิจการ / องค์การ……ได้อย่างไร ?……..โดยวางแผนการตลาดผ่าน Marketing Program & Marketing Segmentation.........decrease  production  cost  and sell  added……                                                                                                                                         

 

90275_Picture144.png
“ การรู้ว่า….ตำแหน่งและส่วนแบ่งการตลาดของ…..สินค้า / การบริการ….ที่ให้แก่ลูกค้า/ผู้บริโภค….มีความจำเป็นมากเพื่อตอบสนองให้ตรงตามความต้องการ…..และเพื่อเพิ่มยอดขาย…..โดยการเพิ่ม…ราคาขายสินค้า…การเพิ่มปริมาณการขาย….และการลดต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ  ”…..ก็มีข้อจำกัดจากการจัดกลุ่มของสินค้าภายใต้เงื่อนไข 3 ประการคือ……1. ต้องจัดว่าสินค้าของเราอยู่ในกลุ่มการขายประเภทใด..ขายได้ที่ละมากๆ เป็นสินค้าที่อยู่ในความนิยมหรือขายได้เรื่อยๆ……2.  กระบวนการผลิตต้องสอดคล้องกับกลุ่มประเภทสินค้า….การตลาด / การบริการ….ผลิตที่ละมากๆ ผลิตตามคำสั่งลูกค้า หรือมีการผลิตสินค้าหลากหลายชนิด…..3. ต้องไม่สับสนในสถานการ   ของตลาด   ในการจัดกลุ่มสินค้าโดยใช้ราคาสินค้าเป็นตัวกำหนด….ซึ่งต้องสอดคล้องกับกระบวนและวิธีการผลิตสินค้าในข้อที่ 2

และเงื่อนไขทั้ง 3 ประการต้องสอดคล้องกับ……Market  Segmentation….ซึ่งช่วยให้การดำเนินแผนการ บริหาร…การตลาดง่ายขึ้นไม่สับสน และสอดคล้องกับ …กำลังการผลิต / ประเภทของสินค้า / ความพร้อมด้านต้นทุน และความต้องการของลูกค้า…..

 

2.   ลูกค้าต้องการอะไรและมีอะไรเป็นจุดขาย……พิจารณาแบ่งกลุ่มตาม…. 5 W 1H




 

90275_Picture145.png


“ คำถามที่มักถามกันก่อนทำแผนธุรกิจ…..โดยเน้นที่จุดความต้องการของลูกค้าและจุดเด่นของสินค้าและการบริการ…..เป็นการสำรวจข้อมูลการตลาดก่อนทำแผน ”

 

3.   หน้าที่หลัก 2 ประการ ของผู้บริหารองค์การในการทำการค้า…..ในเบื้องต้น…..คือต้องรู้จักการบริหารความเสี่ยงและรู้จักลดต้นทุนการผลิต…..ให้เป็น !

ในการทำการค้าแบบชาวบ้านนั้นต้องคอยระวัง…..ปัจจัยทั้งหลายที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการบริหารองค์การ…..ควบคู่ไปกับการควบคุมต้นทุนการผลิต….เป็นการลดจุดรั่วไหลและจุดบกพร่องต่างๆ……เป็นการสร้างความมั่นคงของกิจการค้าและการบริการ……ตามรูปที่แสดงความสัมพันธ์ในรูปด้านล่างนี้

                                                       หน้าที่หลักของผู้บริหารองค์การ                                                           1.   ต้องรู้ในแผนงานและหลักการบริหารงานภายในองค์การ….มีความตั้งใจและมุ่งมั่นสูง….รอบรู้สถานการณ์….มีหลักประเมินผลงานเบื้องต้นอย่างแม่นยาเพื่อติดตามความเสี่ยง                                                                             2.   จัดให้มีการบริหารความเสี่ยงภายในองค์การ….มีการจัดอบรมพนักงาน….เจ้าหน้าที่ ขององค์การ….จัดแผนเผ้าระวังและติดตามผลให้สอดคล้องกับแผน PDCA                                                                                                       3.    ผู้บริหารต้องรวบรวม ผลการบริหารองค์การ ประเมินผลด้วยตนเอง ……..ปรับแผนการทำงานและควบคุม

 

การบริหารความเสี่ยง ผ่านกระบวนการ  PDCA                   P : วางแผน ทบทวน กฎระเบียบ  กำหนดจุดที่เผ้าระวังความเสี่ยง                                                                                                        D : กำหนด นำแผนมาปฏิบัติ เพื่อป้องกันอัตราเสี่ยง                                      C : ควบคุม ดูแล ให้เป็นไปตามแผน เก็บข้อมูล ประเมินผลการทำงาน                                                                                                           A : ปรับปรุงแผน  ติดตามผลงาน เพื่อลด และแก้ข้อบกพร่องทั้งหมด

กระบวนการภายในองค์การ :  การจัดการบริหารภายใน / การบริหารการเงิน / การบริหารแผนงานการขาย /การบริหารการผลิต /การบริหารบุคคลากร

 

หลักเบื้องต้นของการบริหารความเสี่ยง

กระบวนการภายนอกองค์การ :  คู่แข่ง / การเมือง / ภาวะตลาดโลก / ภัยธรรมชาติ / กระแสสังคม / ความเจริญด้านวัตถุ / การพัฒนาด้านจิตใจ

 

เสี่ยง 2

เสี่ยง 1

  

90275_Picture146.png

 

 

 

90275_Picture147.png

 

 

  


/////////////////////////////////////////

26/2/2553


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที