ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 987954 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 18 ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน (Practical Management)(3), (Case Study -7)

ตอนที่ 64

วันที่ 18

ภาคปฏิบัติของการบริหารงาน  (Practical  Management)(3)

(Case Study -7)

 

1.   OB Analysis Model……เปรียบเสมือนเครื่องมือทางปัญญาชิ้นหนึ่ง……..ที่ใช้สำหรับช่วยให้ผู้บริหาร……ได้วิเคราะห์ – ประเมินบุคลากรขององค์การ……..ว่าพร้อมที่จะต่อสู้ไปกับ…..การดำเนินธุรกิจ / การทำงานให้กับองค์การ….ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ / อย่างไร ?.........ผู้บริหารจำเป็นต้องวางแผนการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ทางด้านการวิเคราะห์…พฤติกรรมองค์การหรือ organizational behavior analysis     เพื่อให้เป็นกลจักรสำคัญที่สุดขององค์การเดินไปได้ตาม…แผนที่กลยุทธ์ทุกประการ                                                                                                                     

               ความสำเร็จขององค์การจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องให้บุคลากรขององค์การหรือผู้ปฏิบัติงานจริงๆ….เป็นกลจักรขับเคลื่อนแผนการทำงานโดย….มีผู้บริหารองค์การเป็นผู้ควบคุมอย่างตั้งใจ / ใกล้ชิด / ให้ความเข้าใจและไว้ใจทีมงาน ตามสายบังคับบัญชาพร้อมทั้ง สร้างขวัญกำลังใจให้แก่…..เจ้าหน้าที่ทุกคนในองค์การ…..ย่อมทำให้องค์การได้รับความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้อย่างแน่นอน                                          

            ผู้นำ / ผู้บริหาร / ผู้จัดการ……ขององค์การจะต้องเปิดโอกาสให้บุคลากรภายในสามารถแสดงออกซึ่งความเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การอย่างใจกว้าง….สร้างสรรค์...พร้อมให้มีการเสริมทักษะให้แก่บุคากรตามสายงานอย่าง…เต็มใจ / ใส่ใจ…ในคุณภาพความเป็นอยู่ ของ…การทำงาน / การดำเนินชีวิตประจำวัน…..อย่างรู้เท่าทันเหตุการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของ…สังคม / เทคโนโลยี…อย่างรวดเร็วในขณะนี้……                                                                                                                   

             การสร้างบรรยากาศที่ดี เสริมสร้างจริยธรรมและความเป็นธรรมของสังคมภายในองค์การก็ย่อมส่งผลให้พฤติกรรมขององค์การเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน….กับทั้งมีอิทธิพลต่อแนวนโยบายหลักขององค์การเป็นอย่างมาก…และเพื่อให้เข้าใจในพฤติกรรมขององค์การเบื้องต้น…แบ่งเป็นกลุ่มในการวิเคราะห์ไว้เป็น  2 กลุ่มคือ….1. การศึกษาและวิเคราะห์ พฤติกรรมส่วนบุคคล (Personal Behavior)…. 2. การศึกษาและวิเคราะห์ พฤติกรรมการรวมกลุ่ม  (Social Behavior)……ดังแสดงตามรูปด้านล่างนี้                                                                                                                                     

  

90275_Picture150.png

 

               “ ผู้บริหารองค์การที่มีวิสัยทัศน์ด้านบุคคลากรเป็นเลิศย่อมมองเห็นว่า…..การบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมาก…..ตนเองต้องเป็นผู้กำหนดนโยบาย….ความล้าสมัยของความคิดย่อมทำให้ท่านเองต้อง…..ถูกปัญหาของมนุษย์ รุมเล้า….เป็นการสิ้นเปลืองสมองโดยใช่เหตุ !......ท่านต้องตั้งคำถามและหาคำตอบในทุกๆวันที่ทำงาน….เมื่อ…เข้าบริษัท / เข้าโรงงาน / หรือทุกๆที่ของหน่วยงานขององค์การ…..จำเป็นหรือไม่ที่ต้องให้พนักงานขององค์การ….บริหารงานด้วยความขัดแย้งเพื่อหวังเพียงการตรวจสอบ !…..จำเป็นหรือไม่ที่ต้องให้มีการแบ่งพักแบ่งพวกกันในองค์การ เพียงเพื่อป้องกันการรั่วไหล !…..และจำเป็นหรือไม่ที่ต้องแบ่งความอาวุโสตามหน้าที่และตำแหน่งงาน !…..มีเพดานของแต่ละหน้าที่และตำแหน่งงานอยู่ ณ จุดใด!….สังคมในองค์การย่อมรับหรือไม่ !......จากรูปด้านบนสามารถตอบข้อสงสัยต่างๆเหล่านี้ได้…..เมื่อเราเข้าใจพฤติกรรมของบุคลากรในองค์การพร้อมๆกับเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายในองค์การ…..เราก็ย่อมสามารถเข้าใจการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มขององค์การได้…..และลงลึกไปถึงการทำความเข้าใจความสัมพันธ์และพฤติกรรมของกลุ่มภายในองค์การได้อย่างไม่ยากนัก…..มีการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกลุ่มให้เป็นพฤติกรรมของสังคมที่ดีขององค์การ….และในขั้นสุดท้ายผู้บริหารองค์การต้องวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทั้งหมดให้เป็น….พฤติกรรมขององค์การในที่สุด…..”                                                                                                       

                                                                                                                                  

2.  จุดประสงค์หลักของการทำความเข้าใจ…. organizational behavior….เพื่อให้เกิดผลโดยตรงกับระบบการจัดการ และการบริหารองค์การ พอสรุปได้ดังนี้…1. เพื่อความเข้าใจบุคคลากรขององค์การอย่างลึกซึ้งในด้านความแตกต่างของเชื้อชาติ สังคม และวัฒนธรรม….2. เพื่อให้เข้าใจถึงความต้องการทางปัจจัย 4 ของบุคลากรภายใน ทำให้เกิดความเต็มใจ สบายใจ และเกิดความมั่นคงในการประกอบอาชีพ…..3.  เพื่อการเรียนรู้ พัฒนา ฝึกฝน สร้างทักษะและตั้งกฎ / ระเบียบ / วินัย ให้กับสังคมองค์การ…..4. สร้างทางเลือก ให้มีการพัฒนาผลผลิต และลดต้นทุนในการจัดการ / การบริหารงาน / การผลิต….5.  มีแรงกระตุ้น และผลักดัน ให้องค์การเดินไปได้อย่างมั่นคง ด้วยความแข็งแรงของบุคลากรภายในองค์การ  ด้วยการนำพาของผู้นำที่ชาญฉลาด และด้วยความเต็มใจในการเป็นผู้ตามที่ดีของบุคลากรภายในที่พร้อมใจร่วมกันพัฒนาองค์การ….6.  การสร้างแรงจูงใจเพื่อให้เกิดแรงกระตุ้นในการสร้างผลงาน และปรับปรุงกระบวนการภายในทั้งหมด ให้เท่าทันเหตุการณ์ของการเปลี่ยนแปลงของโลก…..7.  เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็นด้านคุณภาพ ราคา ความสะดวกสบายในการใช้สอย และการปรับปรุงให้ตรงตามความต้องการและสมัยนิยมของตลาด…..8.  การปรับปรุงเพื่อให้องค์การอยู่รอดในภาวะของตลาดที่ฝืดเคือง ตกต่ำ และขาดกำลังซื้อ….แต่สามารถพยุงสถานการณ์และรักษาลูกค้าไว้ได้….โดยเดินงานตามแผนที่กลยุทธ์ขององค์การ                                                           

 

3.  Organizational Behavior….ต้องเข้าใจหลัก 4 ข้อ….คือ  1. เข้าใจพฤติกรรมของบุคลากรในองค์การเป็นข้อสำคัญที่สุด…จนนำมาแปรเปลี่ยนและประเมิน                             ความสามารถ / ศักยภาพ เป็นรายบุคคลได้……2.  เมื่อเข้าใจพฤติกรรมรายบุคคลได้แล้วต้องสื่อสารกับ เขาให้เข้าใจทั้ง …เขา / เรา / หลักขององค์การ….และระวังความสารถในการสื่อสาร อาจต้องใช้ผู้ช่วยสื่อสาร ก็จะทำให้เกิดความนุ่มนวลเข้าใจ….ได้ดีขึ้น / ง่ายขึ้น / รวดเร็วและเต็มใจในการรับฟังและพร้อมที่จะนำไปปฏิบัติ….3.  หน้าที่หลักของผู้บริหารที่ต้องเข้าใจหลักพฤติกรรมของบุคคลขององค์การคือ….ต้องประเมินสถานการณ์ ผลลัพธ์ที่ได้จากแผนการทำงานขององค์การ…ตามสภาพแวดล้อมของการทำงาน….หมั่นฝึกฝนตนเองและสร้างแผนอบรมพนักงานทุกระดับชั้น….มีการปรับระบบ / ระเบียบ / แผนการบริหารงาน ….ตามแผนกลยุทธ์ของพฤติกรรมกลุ่ม……………… 4. นำผลของการทำงานตามพฤติกรรมกลุ่มมาสรุปเป็น…“หลักปฏิบัติของพฤติกรรมขององค์การ”                                                                             

 

      Personal  Behavior                  1. ต้องเข้าใจ อุปนิสัย ใจคอ สังคมความเป็นอยู่ ความต้องการในปัจจัย 4 ของแต่ละคนแต่ละครอบครัว พื้นฐานความรู้ รวมถึงประเพณีท้องถิ่นของคน ลงลึกถึงจิตสำนึกของบุคลา         กรขององค์การ                                     2. นำข้อมูล มากำหนดข้อมูล การบริหาร กำหนดผลตอบแทนและสร้างแรงจูงใจ

 

 

Group  Behavior &      Relationship                             1.  ผู้บริหาร แสดงความเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์เพื่อสร้างความ                       สัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์                        การ  สื่อให้รู้ถึง ความเป็นอยู่ภายในกลุ่ม และต้องเป็นผู้ประสาน ผลประโยชน์ที่ดีต่อกัน  2. ต้องปกป้อง ผลกระทบใดๆจากภายนอก ที่อาจส่งผลต่อบุคลากร

 

Social  Behavior

                                     Organizational  Behavior                                                                                                         1. สร้างเป็นวัฒนธรรมองค์การ  จัดให้มีการแสดงออก และให้เกิดความหลากหลาย ทางพฤติกรรมองค์การก่อนสรุปเป็นกฎระเบียบ                                                                                                           2. จัดการบริหารตามโครงสร้างของวัฒนธรรมองค์การ    พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสมัยนิยมและการตลาดไร้พรมแดน เสริมสร้างความรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม                                     

 

  

 

90275_Picture151.png

 

               “ รูปด้านบนนี้…แสดงกรอบของพฤติกรรมองค์การที่ครอบคลุมทุกๆตำแหน่งหน้าที่ ของทุกๆแผนกขององค์การ…..ผู้บริหารที่มองเห็นว่าไม่มีอะไรที่จะสำคัญยิ่งไปกว่าการยอมรับและเปิดโอกาสให้บุคลากรมีโอกาสแสดงออกซึ่งความคิด….และมีส่วนร่วมในการบริหารองค์การ ย่อมทำให้ประสบความสำเร็จในการบริหารไปกว่าครึ่งแล้ว                                                                                                                        

 

/////////////////////////////////////////

7/3/2553

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที