ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 987957 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 23 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(2)

ตอนที่ 85

วันที่ 23

ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(2)

                นับว่าประเทศไทยยังมีความหวังในกระแสความคิดของ…..Good Governance….ผู้บริหารระดับประเทศหรือรัฐบาลหลายสมัยมีความพยายาม จนในที่สุดได้ผลักดันร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ในปีพ.ศ. 2540 โดยสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีระบุไว้ในมาตรา 71 ถึงมาตรา 87  เป็นการกำหนดหลักพื้นขั้นฐานของ ธรรมาภิบาลภาครัฐ โดยกำหนดเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการบริหารราชการ…..มุ่งที่ความดีความถูกต้องของผู้ที่ออกกฎและผู้รักษากฎ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติเป็นไปตามกฎ  จะเป็นกฎของสังคมแห่งภาครัฐก็คือ….กฎหมาย….หรือกฎของภาคเอกชนก็คือกฎข้อบังคับขององค์การ/องค์กร….หรือข้อปฏิบัติของบริษัทต่างๆที่บัญญัติขึ้นมาเราสามารถวัดผลและประเมินผลจากประสิทธิของงานที่ทำได้….รัฐใดมีธรรมาภิบาล ก็ย่อมจะก่อให้เกิดการทำงานทั้งภาครัฐ และเอกชน มีประสิทธิภาพสูงสุด…..และก่อให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด….ภายใต้เงื่อนไขและสภาวะทางสังคมที่มีความ….ยุติธรรม

                ภายหลังจากยุคฟองสบู่แตกปี ’40  ได้เกิดกระแสของ Good Governance แพร่หลายยิ่งขึ้น และพยายามเชื่อมโยงหาสาเหตุของความล้มเหลวของธุรกิจในยุคนั้น จนเกิดคำว่า….ธรรมรัฐแห่งชาติ ควบคู่กับ ธรรมาภิบาล….ซึ่งก็หมายถึง การบริหารงานราชการและ การปกครองที่ดี……ต่อมาในปี ’42 มีการบัญญัติระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักธรรมาภิบาลเรียกว่า….การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี…….และในปี ’46 รัฐบาลก็ได้ออก พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี…..ซึ่งนับว่าเป็นรูปธรรมขึ้นมา โดยมีหลักพื้นฐานอยู่ 6 ประการด้วยกันคือ…..  1.หลักของนิติธรรม (Rule of Law) เป็นหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติที่ต้อง ตรากฎหมายให้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรม…..เพื่อนำไปบังคับใช้เป็นกฎหมาย โดยต้องมีหลักการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎกติกาที่ได้ตกลงกันไว้….ด้วยความเคร่งครัด….นั่นคือประชาชนทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายนี้อย่างมีสิทธิและเสรีภาพ ด้วยความยุติธรรม…..และในกรณีที่เป็นหลักปฏิบัติของบริษัท / องค์การ….ผู้อยู่ในองค์การนั้นทุกคน ก็ต้องอยู่ภายใต้หลักนิติธรรม ที่ว่าด้วย กฎระเบียบของ บริษัท / องค์การ เพื่อปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเท่าทียมกันทุกคนด้วย……2. ความมีคุณธรรม (Ethics) เป็นการสร้างพฤติกรรม จนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของการดำรงชีวิตและสามารถปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมเดิมได้โดยยึดหลักของความถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต ความจงรักภักดีต่อสิ่งที่ยอมรับกัน การรักถิ่นถิ่นฐานบ้านเกิด และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อ ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก ผู้ที่ด้อยโอกาสกว่าผู้อื่นในสังคม…..ความขยันหมั่นเพียรในการประกอบสัมมาชีพจนเป็นพฤติกรรมของคนในชาติ จะเป็นจุดปรับเปลี่ยนของความเป็นสังคมชาติได้……ไม่ว่าอีกกี่ generation ก็ต้องเริ่มตั่งแต่วันนี้เป็นต้นไป พร้อมๆกับการปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จในวันข้างหน้า……3. มีความโปร่งใส (Transparency) ระบบการทำงานของคนในชาติทุก องค์การ / องค์กร สามารถตรวจสอบได้ เริ่มจากระบบของข้าราชการ ที่มีความโปร่งใส เป็นฟันเฟืองหลัก ที่จะนำพาระบบการทำงานของคนในสังคมไทย ภายใต้ความขยันหมั่นเพียร ด้วยคุณภาพที่ดีมีมาตรฐาน…….4. การมีส่วนร่วม (Participation) ในที่นี้หมายถึงการเปิดโอกาสให้ประชาชนใช้สิทธิตามระบอบประชาธิปไตยอย่างเต็มที่ ในการแสดงความคิดเห็น แสดงประชามติ  และประชาพิจารณ์ และในกรณีที่จะมีผลกระทบต่อสังคม สาธารณะสมบัติ และวัฒนธรรมที่ดีงาม ก็ต้องมีการไต่สวนสาธารณะเพื่อหาข้อเท็จจริง รวบรวมข้อเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจ   เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อ ป้องกันปัญหา หรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้ลุลวงต่อไป   และการมีส่วนร่วมรับรู้ เสนอความเห็นในทุกๆครั้งจะต้องมาจากความต้องการของมวลมหาชนเป็นหลัก……...5. ต้องมีความรับผิดชอบ (Accountability) ในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะทั้งหลายต้องไม่เบียดบัง อำพลางในสิ่งที่มองไม่เห็นใดๆ ซึ่งอาจไปลิดรอนสิทธิและหน้าที่ของผู้อื่น จนขาดความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาแก่สังคมตามมา  การตัดสินใจใดๆ ถึงแม้จะมาจากประชามติก็ตาม แต่ ถ้าก่อให้เกิดปัญหา  ก็ต้องมีผู้รับผิดชอบและต้องช่วยกันหาทางแก้ไขโดยเร็วให้ทันท่วงที …..…..6. มีความคุ้มค่า (Worthiness)  มีการใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ่มราคา คุ้มกับการลงทุน  และพิจารณามองถึงคุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีเหตุผล  ซึ่งในบางครั้งเมื่อมามองในแง่เม็ดเงินก็อาจจะไม่คุ้ม แต่เมื่อมามองทางด้านการสร้างคุณภาพของคนในสังคม อาจจะเกิดความคุ้มค่าในระยะยาวก็ได้  ในที่นี้จะรวมถึงการรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่จะต้องสูญเสียไปในการพัฒนาสังคมหรือการขยายพื้นที่ทำกินเพื่อใช้เพื่อสร้าง  infrastructure  ให้กับสังคมนั้นๆ…. ซึ่งจำเป็นต้องคิดจุดคุ้มทุนและประเมินเป็นมูลค่าของการสูญเสีย  ว่าคุ้มกับการลงทุนหรือไม่….กล่าวโดยรวมแล้วเสมือนกับการมีความรับผิดชอบต่อสังคมถิ่นฐานที่เกิด และใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างระมัดระวัง…. มีการรับผิดชอบต่อหน้าที่ เพื่อให้ได้ ผลผลิต / ผลงาน ออกมาจากสังคมนั้นๆ    และเมื่อมองที่การแข่งขันกับตนเองเป็นหลักแล้ว  และเราสามารถใช้เป็นแนวทางที่จะๆนำไปสู่การแข่งขัน ระดับนานาชาติต่อไปได้ ( อยู่ในโลกยุค globalization   ก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง ของโลกแต่ก็ไม่จำเป็น ที่จะต้องเอาอย่างการพัฒนาของโลก ทุกกระเบียดนิ้วก็เป็นได้ )

ปัญหาส่งท้ายตอนที่ 85 :  จากความหมายของ Good Governance ลองพิจารณาจากรูปว่า เราสามารถให้ความหมายของ Whole Good Governance เพื่อทดสอบความเข้าใจว่า ความสำเร็จของระบบธรรมาภิบาลควรจะครอบคลุมถึงระดับใดบ้าง…?

 

 

 

90275_Picture0.png

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที