ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 987888 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 25 Buddhism and Scientific Management (4)

ตอนที่ 94

วันที่ 25

 Buddhism  and  Scientific Management (4)

 

ต่อเนื่องจาก case study ของ บจ.อินทราชัย มีคุณมานะ สุขเจริญ เป็น CEO : จากจุดอ่อน / จุดแข็ง  ของหัวข้อที่ 4 เตรียมไว้…..เพื่อใช้ในการดำเนินแผนกลยุทธ์ ทั้ง 5 ขั้นตอน….กล่าวคือเมื่อได้กำหนดทิศทาง (Direction Setting) ของแผนเรียบร้อยแล้ว…..จึงมีการประเมินองค์การและสภาพแวดล้อม (Environment Scanning) ซึ่งต้องหาสภาพที่แท้จริงในสถานที่ทำงานและสภาพโดยรอบ… เพื่อนำมาประเมินเป็นจุดอ่อนและจุดแข็ง….ตามแผนโดยก่อนประเมินสภาพแวดล้อมต้องใช้… KAEP….ร่วมกับหลักพุทธศาสตร์…อิทธิบาท 4….เพื่อหล่อหลอมสภาพความเป็นจริงของ…จิตวิญญาณ….ที่จะส่งผลให้การประเมินจุดอ่อน / จุดแข็ง….เป็นไปตามหลักการ / ข้อกำหนด ที่ได้วางไว้…เพื่อนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์ (Formulation) ต่อไป…..พอสรุปเป็นขั้นตอนได้ดังนี้:-

               1.  เริ่มจากการแยกความหมายของ…อิทธิบาท 4 ก่อน….ว่าให้ความหมาย / แปลความหมาย / ให้นิยาม…อย่างไรในการใช้เพื่อประกอบแผนธุรกิจเชิงกลยุทธ์….(ในขั้นนี้ต้องให้ความหมายกระชับและไม่ผิดเพี้ยน)….. อิทธิบาท คือหลักคุณธรรมที่เป็นฐานเสมือนเครื่องนำพาไปสู่ความสำเร็จ  ตามที่คนเราประสงค์/คาดหวัง/ต้องการ…ทำให้ตนเองสมบูรณ์แบบ และนำพาไปสู่ความปารถนาอันดีที่ตั้งใจไว้ ……อันประกอบด้วย….ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งที่ตน คิดว่า/ถือว่า ดีที่สุด ซึ่งมนุษย์เรา ควรจะได้ / จะมีประการแรกเพื่อเป็นกำลังใจ ในการสร้างคุณธรรม….วิริยะ ความเพียรพยายาม ขยันทำสิ่งนั้นๆ ด้วยความอดทนไม่ท้อถอย และทำใจให้เข้มแข็งเพื่อทำกิจกรรมจนงานเสร็จสิ้น/สำเร็จ….จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ตั้งใจทำ มีใจจดจ่อ ทำสิ่งนั้น…ด้วยความเอาใจใส่สม่ำเสมอ….วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผล เข้าใจและทำด้วยความสามารถ โดยมีการวางแผน พิจารณา ตรวจสอบ ประเมินวัดผล และหาวิธีปรับปรุงแก้ไข…

- ฉันทะ…นำพาไปสู่ คุณธรรม….สิ่งบั่นทอนคือ ความอยุติธรรม

- วิริยะ…นำมาซึ่ง ความเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญ…สิ่งขัดขวางคือ อบายมุข

- จิตตะ…ทำให้เกิด สมาธิ…ตรงข้ามกับ…การขาดระเบียบวินัย

- วิมังสา…ก่อให้เกิด ปัญญา…ศัตรูคือ….หลงผิดหลงตัวเอง

                2.  ใช้หลัก…KAEP…เป็นตัวเชื่อมต่อกับหลักพุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์คือ….1. ต้องมีความรู้ (Knowledge)….2. มีความสามารถ(Ability)…..3. มีความชำนาญ (Expert)….4. มีความขยันปฏิบัติเป็นกิจวัตร(Practice)….เริ่มจาก

- ฉันทะ…ความพึงพอใจ…นำพาไปสู่ การมีคุณธรรม….ต้องเริ่มจาก…การมีความรู้คือรู้ในกิจการที่ทำ…รู้ในความจริง…รู้อย่างแท้จริง จนเกิดความมั่นใจจนกระทั่งพึงพอใจ…ความสามารถที่เกิดจากความรู้ความมั่นใจจนทำให้เกิดความพึงพอใจ…ความชำนาญงานในกิจการก็ทำให้เกิดความพึงพอใจได้….สุดท้ายคือความขยันหมั่นเพียรปฏิบัติงานจนเป็นกิจวัตร สร้างความพึงพอใจได้ จนทำให้มีความสุขและก่อให้เกิด….การมีคุณธรรม…..สรุป ฉันทะ: ที่ยืนบนหลัก KAEP ขององค์การ…สามารถใช้เพื่อสร้างความพึงพอใจ…จนนำไปสู่การมีคุณธรรม…เราสามารถสร้างจุดแข็ง….และหาจุดอ่อนจากความพึงพอใจทั้งหมดนี้ได้และนำไปใช้ประกอบแผนในขั้น… Environment Scanning

-วิริยะ ….ความเพียรพยายาม….นำมาซึ่ง ความเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญ…ต้องเริ่มจาก…การมีความรู้คือรู้ในกิจการที่ทำ…รู้ในความจริง…รู้อย่างแท้จริง ความรู้นั้นได้มาจากความเพียรพยายาม…ความสามารถที่เกิดจากความรู้ความมั่นใจจนสามารถเสริมสร้างความเพียรพยายามได้…ความชำนาญงานในกิจการก็ได้จากความเพียนพยายามเช่นเดียวกัน….สุดท้ายคือความขยันหมั่นเพียรปฏิบัติงานจนเป็นกิจวัตร ก็ได้จากความเพียรพยายาม  ในที่สุดความเพียรพยายามเป็นตัวสร้าง….ความเด็ดเดี่ยวและความกล้าหาญ…..สรุป วิริยะ: ที่ยืนบนหลัก KAEP ขององค์การ…ช่วยเสริมสร้างความเพียรพยายาม…จนทำให้เกิดความเด็ดเดี่ยวและความกล้าหาญ…เราสามารถสร้างจุดแข็ง….และหาจุดอ่อนจากความเพียรพยายามนี้ได้และนำไปใช้ประกอบแผนในขั้น… Environment Scanning

- จิตตะ…ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ตั้งใจทำ มีใจจดจ่อ ทำสิ่งนั้นๆ….ทำให้เกิด สมาธิ….ต้องเริ่มจาก…การมีความรู้คือรู้ในกิจการที่ทำ…รู้ในความจริง…รู้อย่างแท้จริง ความรู้นั้นได้มาจากความตั้งใจ ใฝ่ใจที่จะทำ…ความสามารถที่เกิดจากความรู้ความมั่นใจจนตอบสนองความใส่ใจนั้นได้…ความชำนาญงานในกิจการก็ได้จากความใฝ่ในงาน และจดจ่อที่จะทำงาน….สุดท้ายคือความขยันหมั่นเพียรปฏิบัติงานจนเป็นกิจวัตร ก็ได้จากความเอาใจใส่ฝักใฝ่ตั้งใจทำ มีใจจดจ่อ  จนในที่สุดความเอาใจใส่ฝักใฝ่ตั้งใจช่วยสร้าง….ความเด็ดเดี่ยวและความกล้าหาญ…..สรุป จิตตะ: ที่ยืนบนหลัก KAEP ขององค์การ…ช่วยเสริมสร้างความเอาใจใส่ฝักใฝ่ตั้งใจทำ มีใจจดจ่อ …เป็นจุดเริ่มของการมี สมาธิ…เราสามารถสร้างจุดแข็ง….และหาจุดอ่อนจากการฝึกและการใช้สมาธิ นี้ได้และนำไปใช้ประกอบแผนในขั้น… Environment Scanning

- วิมังสา…ความหมั่นสอดส่องในเหตุผล เข้าใจและทำด้วยความสามารถ โดยมีการวางแผน พิจารณา ตรวจสอบ ประเมินวัดผล และหาวิธีปรับปรุงแก้ไข….ทำให้เกิด ปัญญา….ต้องเริ่มจาก…การมีความรู้คือรู้ในกิจการที่ทำ…รู้ในความจริง…รู้อย่างแท้จริง ความรู้นั้นได้มาจากการหมั่นตริตรองเหตุผล มีความเข้าใจ…ความสามารถที่เกิดจากความหมั่นสอดส่องในเหตุผล เข้าใจและทำด้วยความสามารถ …ความชำนาญงานในกิจการก็ได้จากความความหมั่นสอดส่องและเข้าใจในเหตุผล ….สุดท้ายคือความขยันหมั่นเพียรปฏิบัติงานจนเป็นกิจวัตร ก็จะทำให้มีเหตุผล เข้าใจและสร้างความสามารถในการทำงาน   จนในที่สุดความหมั่นสอดส่องในเหตุผล เข้าใจและทำด้วยความสามารถ โดยมีการวางแผน พิจารณา ตรวจสอบ ประเมินวัดผล และหาวิธีปรับปรุงแก้ไข จะช่วยให้มี….ปัญญา…..สรุป วิมังสา: ที่ยืนบนหลัก KAEP ขององค์การ…ช่วยเสริมสร้างความหมั่นสอดส่องในเหตุผล เข้าใจและทำด้วยความสามารถ โดยมีการวางแผน พิจารณา ตรวจสอบ ประเมินวัดผล และหาวิธีปรับปรุงแก้ไข  …เป็นจุดเริ่มของ…ปัญญา…เราสามารถสร้างจุดแข็ง….และหาจุดอ่อนจากการการคิดเพื่อเจริญปัญญา  โดยนำมาประกอบแผนในขั้น… Environment Scanning

               3. สรุปในกรณีของ บจ.อินทราชัย : ผู้นำ/ผู้บริหาร…องค์การต้องการใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนา มาประยุกต์ใช้กับหลักการบริหารงานโดยใช้….ใช้หลัก KAEP เป็นตัวเชื่อมและขับเคลื่อน…..ร่วมกับหลักพุทธศาสตร์และแผนกลยุทธ์…..จะช่วยให้ขั้นของ Environment Scanning …มีความละเอียดรอบคอบขึ้น…..และเป็นเพียงตัวอย่างเดียวที่ยกมาเพื่อเป็นแนวทางในการหาหลักธรรมที่เหมาะสมกับองค์การมาใช้เพื่อเสริมสร้าง….พลังทางจิตวิญญาณ….ให้กับบุคลากรขององค์การทุกคน

 

////////////////////////////////////////

19/3/2554

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที